โด่ไม่รู้ล้ม ๑

Elephantopus scaber L. var. scaber

ชื่ออื่น ๆ
ขี้ไฟนกคุ่ม (เลย); คิงไฟนกคุ่ม (ชัยภูมิ); เคยโป้ (เหนือ); ตะซีโกวะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); หญ้าไก่นกคุ่ม, หญ้าปราบ, หญ้าไฟนกคุ่ม, หญ้าสามสิบสองหาบ, หนาดผา (เหนือ); หนาดมีแคลน (สุราษฎร์ธานี)

ไม้ล้มลุกหลายปี มีขนหยาบแข็งสีขาวแนบลำต้นหรือกิ่ง ใบเดี่ยว ออกเป็นกระจุกที่โคนต้นคล้ายกุหลาบซ้อน รูปช้อน รูปใบหอกกลับ หรือรูปใบหอกแกมรูปไข่กลับ ช่อดอกแบบช่อกระจุกแน่นเชิงประกอบ ออกที่ยอด ดอก ย่อยในช่อมีแบบเดียวเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ดอกสีออกม่วงหรือสีชมพู ผลแบบผลแห้งเมล็ดล่อน รูปขอบขนาน แคบ มีกลีบเลี้ยงติดทนแบบแพปพัสลักษณะเป็นขนแข็ง มีเมล็ด ๑ เมล็ด


     โด่ไม่รู้ล้มชนิดนี้เป็นไม้ล้มลุกหลายปี สูง ๑๐- ๖๐ ซม. เหง้าใต้ดินทอดนอนหรือตั้ง มีรากแขนงจำ.นวน มาก ลำ.ต้นตั้งตรง ค่อนข้างแตกกิ่งเป็นง่าม มีขนหยาบ แข็งสีขาวแนบลำ.ต้นหรือกิ่ง
     ใบเดี่ยว ออกเป็นกระจุกที่โคนต้นคล้ายกุหลาบ ซ้อน รูปช้อน รูปใบหอกกลับ หรือรูปใบหอกแกมรูปไข่ กลับ กว้าง ๒-๕ ซม. ยาว ๕-๒๐ ซม. ปลายมนกลมหรือ แหลมสั้น โคนสอบเรียวเป็นก้านใบกว้างสั้น ขอบจักฟันเลื่อยแกมหยักมน แผ่นใบค่อนข้างหนาคล้ายแผ่นหนัง ด้านบนมีขนหยาบแข็งประปราย ด้านล่างมีขนหยาบแข็ง และมีต่อม เส้นแขนงใบข้างละ ๑๒-๑๕ เส้น ก้านใบยาว ได้ถึง ๒ ซม. อาจพบใบขนาดเล็กตามลำ.ต้น และมีขนาด ลดลงเรื่อย ๆ ไปยังปลายต้นหรือกิ่ง ใบรูปใบหอกกลับ หรือรูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน

 

 

 


     ช่อดอกแบบช่อกระจุกแน่นเชิงประกอบ ออกที่ ยอด ใบประดับ ๓ ใบ รูปคล้ายสามเหลี่ยม รูปไข่กว้าง หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง ๐.๕-๑ ซม. ยาว ๑-๑.๕ ซม. ปลายเรียวแหลม มีเส้นใบนูนเห็นชัด มีขน หยาบแข็งและมีต่อม ช่อย่อยแบบช่อกระจุกแน่น มี จำ.นวนมาก ยาว ๐.๘-๑ ซม. ฐานดอกร่วมแบน เกลี้ยง เส้น ผ่านศูนย์กลางประมาณ ๐.๕ มม. วงใบประดับแคบ กว้าง ๒-๓ มม. ยาว ๐.๗-๑ ซม. ใบประดับสีเขียว ปลายสีม่วง รูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน มีเส้นใบประดับ ๑ หรือ ๓ เส้น ปลายเรียวแหลมหรือเป็นหนาม ขอบเกลี้ยงหรือมีขน ผิวด้านนอกมีขนหยาบและมีต่อม ชั้นนอกยาว ๔-๕ มม. ชั้นในยาวประมาณ ๑ ซม. ดอกย่อยในช่อมีแบบเดียวเป็น ดอกสมบูรณ์เพศ มี ๔ ดอก กลีบเลี้ยงลดรูปเป็นรยางค์ กลีบ ดอกสีออกม่วงหรือสีชมพู โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ยาว ๓-๕ มม. ปลายแยกเป็น ๕ แฉก ยาว ๑.๕-๒ มม. เกสร เพศผู้ ๕ เกสร ก้านชูอับเรณูแยกจากกัน อับเรณูยาว ประมาณ ๒ มม. ปลายเป็นรยางค์แหลม เชื่อมติดกันด้าน ข้างเป็นหลอดและหุ้มก้านยอดเกสรเพศเมีย รังไข่อยู่ใต้ วงกลีบ มี ๑ ช่อง มีออวุล ๑ เม็ด ก้านยอดเกสรเพศเมีย สีม่วง ยาว ๗-๘ มม. ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น ๒ แฉก ยาวประมาณ ๐.๕ มม.
     ผลแบบผลแห้งเมล็ดล่อน รูปขอบขนานแคบ ยาว ๒.๕-๔ มม. มีขนสั้นนุ่มเป็นคู่หนาแน่น ไม่มีต่อม กลีบเลี้ยงติดทนแบบแพปพัสลักษณะเป็นขนแข็งสีขาว ขุ่น ๕ อัน ยาว ๔-๙ มม. มีเมล็ด ๑ เมล็ด
     โด่ไม่รู้ล้มชนิดนี้มีอีกพันธุ์หนึ่ง คือ var. penicillatus Gagnep. ลักษณะของใบและช่อดอก ต่างออกไปคือ ใบและช่อดอกมีขนยาวห่างและขนสั้นนุ่ม มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทางภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ในต่างประเทศพบที่ลาว เวียดนาม ส่วนพันธุ์ var. scaber มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทั่วทุกภาค พบตาม ที่โล่งในป่าผลัดใบ ป่าดิบ ที่สูงตั้งแต่ใกล้ระดับทะเลถึง ประมาณ ๓๐๐ ม. ออกดอกและเป็นผลเดือนกรกฎาคม ถึงมกราคม ในต่างประเทศพบทั่วไปในเขตร้อน
     ประโยชน์ ใช้เป็นสมุนไพร.

 

 

 

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
โด่ไม่รู้ล้ม ๑
ชื่อวิทยาศาสตร์
Elephantopus scaber L. var. scaber
ชื่อสกุล
Elephantopus
คำระบุชนิด
scaber
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- L.
ชื่อชนิดย่อย (ถ้ามี)
var. scaber
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- L. ช่วงเวลาคือ (1707-1778)
ชื่ออื่น ๆ
ขี้ไฟนกคุ่ม (เลย); คิงไฟนกคุ่ม (ชัยภูมิ); เคยโป้ (เหนือ); ตะซีโกวะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); หญ้าไก่นกคุ่ม, หญ้าปราบ, หญ้าไฟนกคุ่ม, หญ้าสามสิบสองหาบ, หนาดผา (เหนือ); หนาดมีแคลน (สุราษฎร์ธานี)
ผู้เขียนคำอธิบาย
ดร.ก่องกานดา ชยามฤต
แหล่งอ้างอิง
อนุกรมวิธานพืช อักษร ด กองวิทยาศาสตร์อนุกรมวิธานพืช อักษร ด. pdf.